9 ข้อแนะนำ เพื่อการปฏิบัติงานขับรถโฟล์คลิฟท์อย่างปลอดภัย
ในการปฏิบัติงานยกขน เคลื่อนย้ายสินค้า รถโฟล์คลิฟท์นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อำนวยความสะดวกให้กับผู้ปฏิบัติงานและผ่อนแรงในการยกขนสินค้า เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้งาน หรือเข้าใจวิธีการปฏิบัติงานขับรถโฟล์คลิฟท์ที่ถูกต้อง ผลที่ตามมาก็คือ “อุบัติเหตุ” ซึ่งส่วนใหญ่มักนำมาซึ่งความเสียหาย ทั้งความเสียหายต่อตัวบุคคลและทรัพย์สินขององค์กร
จากข้อมูลของคณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพ (Occupational Safety and Health Administration) ของสหรัฐอเมริกา หรือ OSHA พบว่า ในปี 2015 มีสถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานขับขี่รถโฟล์คลิฟท์อย่างไม่ถูกวิธีและการปฏิบัติงานด้วยความประมาทในประเทศสหรัฐอเมริกา สูงถึง 96,785 ครั้ง โดยรูปแบบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสูงสุดคือ อุบัติเหตุจากการชนของงารถโฟล์คลิฟท์ อุบัติเหตุการชนของรถโฟล์คลิฟท์ภายในอาคาร และอุบัติเหตุจากการที่รถโฟล์คลิฟท์สองคันชนกัน อย่างไรก็ตาม OSHA ได้ให้คำแนะนำว่าหากมีการจัดฝึกอบรมและให้แนะนำแก่ผู้ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ที่ถูกต้องจะสามารถลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจในการปฏิบัติงานขับรถโฟล์คลิฟท์อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ลดอุบัติเหตุกับความเสียหาย และเป็นการส่งเสริมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย เเละสภาพเเวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จะพาคุณมาร่วมเรียนรู้แนวทางการใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ที่ถูกต้อง เข้าใจถึงอันตรายจากการทำงานรถยก มาตรการเพื่อความปลอดภัย และข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานขับรถยก
อันตรายจากการทำงานรถยก
อันตรายจากการยกสินค้าสูงเกินกำหนด อาจทำให้สินค้าหล่นทับกับคนขับรถหรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณนั้น
โฟล์คลิฟท์พลิกคว่ำ เมื่อขับรถเร็วหรือการจัดวางน้ำหนักสินค้าไม่สมดุล
คนขับรถยกมองไม่เห็นผู้ปฏิบัติงานที่เดินอยู่ ทำให้เกิดการชน/ทับจนอาจถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ปฏิบัติงานอาจตกจากที่สูงหากขึ้นไปยืนบนงาของรถยก
ไม่มีกำหนดเส้นทางของรถยกหรือมีเเต่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกันได้
มาตรการเพื่อความปลอดภัย
กำหนดเส้นทาง/ตีเส้นทางเดินรถยก
จัดให้มีป้ายเตือนอันตรายทุกทางแยกหรือทางโค้งที่รถยกต้องสัญจร
สื่อสารเกี่ยวกับความหมายของป้ายเตือนอันตราย สีของเส้นทางในบริเวณต่างๆ เเละขั้นตอนการปฏิบัติงานกับรถยกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนรับทราบ
ใช้อุปกรณ์ Logout/Tagout เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก
ใช้อุปกรณ์คลุมพวงมาลัยเเละใส่กุญเเจเมื่อจำเป็น เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก
9 ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานขับรถยก
การตรวจสอบประจำวัน (Daily Inspection)
– ทดสอบ ระบบเบรก ไฟส่องสว่าง เเตรรถเเละพวงมาลัย
– ตรวจสอบ ยางรถยกเเละระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
– ตรวจเช็ค การรั่วไหลของน้ำ น้ำมัน หรือหม้อน้ำ
– ตรวจเช็ค งาของรถยกให้อยู่ในเเนวตรง ราบเเละไม่เเตกร้าว/ชำรุด
– สังเกต สิ่งกีดขวางเส้นทางที่ขรุขระ สิ่งกีดขวางที่อยู่ด้านบนเเละอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
ยกสินค้าให้สมดุล
มองเส้นทางเดินรถตลอดเวลา หากสินค้าบังเส้นทางให้ขับเเบบถอยหลัง
ยกสินค้าให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
สังเกตป้ายเตือนอันตรายหรือสัญลักษณ์เเสดงเส้นทางอยู่เสมอ
ให้สัญญาณเสียงเตือนบริเวณทางเเยก ทางโค้ง หรือบริเวณที่มีผู้ปฏิบัติงานเดินอยู่
ปฏิบัติตามป้ายจำกัดความเร็วเเละป้ายเตือนอันตรายอย่างเคร่งครัด
ไม่ขับรถยกไปบริเวณที่ห้ามเข้า
หากคุณกำลังมองหาหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับสเปรย์อุตสาหกรรม รถโฟล์คลิฟท์ รถลากพาเลทไฟฟ้า Electric Pallet Tuck ทาง บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด มีจำหน่ายพร้อมนำส่งและยินดีให้คำปรึกษา นอกจากนี้เราเป็นผู้จำหน่าย ให้เช่า บริการซ่อมโฟล์คลิฟท์ รถยก Forklift Truck ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ พร้อมรับประกันหลังการซ่อม และจัดหาอะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ นำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศโดยตรง จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง
บริการของ บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด
⇒ รายการอะไหล่แฮนพาเลท (Hand Pallet Truck Parts)
⇒ ปลั๊กแบตเตอรี่ & อุปกรณ์ไฟฟ้า (Battery Plugs Connector & Electrical)
⇒ รายการอะไหล่ (Parts)
⇒ รายการล้อ (Caster Wheels)
⇒ สเปรย์ & จารบี (Spray & Grease)
Post on 2019-09-24