รถยกหรือรถโฟล์คลิฟท์ที่คุณรู้จัก มีความเป็นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
แนะนำอ่านบทความ : รถยก รถโฟล์คลิฟท์ที่เราเรียกกันมาจากคำว่าอะไรกัน และความเป็นมาของโฟล์คลิฟท์เริ่มต้นอย่างไร
ส่วนประกอบเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์ Forklift
โฟล์คลิฟท์ เป็นรถที่ใช้สำหรับในการยกสินค้า รวมถึงการขนย้ายขนส่งสินค้า สามารถยกได้สูงยกครั้งละได้จำนวนมากๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาในการทำงาน และที่สามารถเป็นเครื่องทุนแรงในการปฏิบัติงานได้นั้น เนื่องจากมีส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญในการทำหน้าที่ ซึ่งการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการขาดการดูแลบำรุงรักษาชิ้นส่วนเหล่านี้ ระบบการบำรุงรักษาชิ้นส่วนองค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยยืดอายุการใช้งานรถโฟล์คลิฟท์
⇒ ล้อหน้า (Front Wheel)
ล้อหน้ามีหน้าที่อยู่ 3 หน้าที่
1.ใช้รับน้ำหนักบรรทุก
2.ใช้ขับเคลื่อนรถโฟล์คลิฟท์
3.ใช้สำหรับเบรกล้อของรถยกไฟฟ้าเเบบยืนขับ
ซึ่งที่กล่าวไปจะถูกเรียกว่าล้อโหลด ล้อขับเคลื่อน เเละล้อประคอง ตามลำดับ โดยล้อหน้าของรถโฟล์คลิฟท์จะมีขนาดใหญ่กว่าล้อหลัง มีความเเข็งเเรงสูง เนื่องจากมีการรับน้ำหนักบรรทุก จึงต้องหมั่นบำรุงรักษาอาจจะดูแลเป็นระยะกำหนดเป็นรอบรายเดือนหรือตามจำนวนชั่วโมงการใช้งาน โดยจะกำหนดระยะบำรุงรักษาเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของรถโฟล์คลิฟท์
⇒ ล้อหลัง (Rear Wheel)
มีหน้าที่บังคับเลี้ยว (บังคับทิศทาง) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เเต่ก็มีความสำคัญในการทำงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากคลังสินค้าหรือพื้นที่ใช้งานอาจมีพื้นที่จำกัด ความเเม่นยำในการบังคับเลี้ยวจึงสำคัญ
⇒ เสารถยก (Mast)
เป็นอุปกรณ์รางเลื่อนสำหรับให้งาขึ้น-ลงเพื่อยกสินค้าขึ้นวางบนชั้นหรือยกลง โดยทั่วไป เสารถยกจะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ในบางการใช้งานที่ต้องการการยกสูงไปอีกเป็น 5-6 เมตร ก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนงาเป็น 3 ท่อน
โดยเสารถยกสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- Wide Visible Mast (V) เป็นเสาที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งมีระยะฟรีลิฟท์* (Free Lift) อยู่ที่ประมาณ 100-150 มิลลิเมตร
- Wide Visible Semi-Free Mast (SV) มีเฉพาะรถ Reach Truck (รถยกไฟฟ้าแบบยืนขับ) เป็นโครงสร้างเหมือนเสารถยกแบบ V แต่จะมีระยะฟรีลิฟท์ที่มากกว่า โดยสามารถยกได้สูงจากพื้นประมาณ 400 มิลลิเมตร
- Full Free-Lift Two-Stage Mast (FV) เป็นเสา 2 ท่อนแบบมีฟรีลิฟท์ โดยรถยกที่มีเสาแบบ FV จะมีกระบอกไฮโดรลิคอยู่ตรงกลางระหว่างเสาทั้ง 2 ข้าง เสาประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานภายในตู้คอนเทนเนอร์
- Full Free-Lift Three-Stage Mast (FSV) เป็นเสา 3 ท่อนแบบมีฟรีลิฟท์เป็นเสาที่มีความสูงของหัวเสาต่ำ แต่สามารถยกได้สูงมากกว่าเสา 2 ท่อน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีทางเข้าที่ต่ำ แต่ต้องใช้ยกสินค้าเก็บบนชั้นวางที่สูงมาก
* ระยะฟรีลิฟท์ (Free Lift) คือ ระยะเสายกขึ้นโดยที่หัวเสาไม่ยกตาม
⇒ งารถยก (Fork)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับเสารถยก เป็นส่วนที่ยื่นออกมาทางด้านหน้าของรถโฟล์คลิฟท์สำหรับยกสัมภาระต่างๆ เเละจะเป็นส่วนที่สอดเข้าไปใต้พาเลท งารถยกเป็นอุปกรณ์ที่อันตรายต้องระมัดระวังในการเข้าใกล้ การใช้งาน เเละการบังคับ ซึ่งงารถยกนี้จะมีอยู่หลายประเภท ควรเลือกความยาวงาที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับการใช้งานในการยกว่าเป็นของประเภทหรือชนิดใด เเละเลือกการใช้งายกให้เหมาะสมกับงาน หลีกเลี่ยงการใช้งานงาที่สั้นหรือยาวเกินกว่าตัวสินค้าหรือสิ่งของเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือสินค้าเสียหาย ดังนั้นผู้ขับ ผู้ร่วมงานจึงต้องมีความชำนาญและผ่านการอบรม
⇒ กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic)
รถยกตามมาตรฐานจะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่จำนวน 3 ชุด คือ
1.กระบอกยก เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงานขึ้น-ลง มีสองกระบอก
2.กระบอกคว่ำ-หงาย เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าเเละหลัง มีสองกระบอก
3.กระบอกบังคับเลี้ยว เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถยก มีหนึ่งกระบอก
⇒ โซ่ยก (Chain)
มีความสำคัญในการยกวางสินค้า โดยจะทำงานร่วมกับกระบอกยกไฮดรอลิคเพื่อยกงาเมื่อต้องการให้สินค้าหรือสิ่งของที่โหลดยกขึ้น-ลง
⇒ ที่พิงสินค้าขณะโหลด (Load Backrest)
เป็นตัวช่วยให้สินค้าวางบนงาอย่างมั่นคงขึ้น โดยขณะที่ยกงาเเละเอียงงาไปด้านหลังสินค้าจะถูกดันไปติดกับที่พิงสินค้า จึงช่วยให้สินค้าไม่ร่วงหล่นขณะยกขึ้น-ลงงาหรือเคลื่อนย้าย
⇒ ชุดโครงเหล็กหลังคาป้องกันภัยเหนือที่นั่งคนขับ/โครงป้องกันศีรษะ (Overhead Guard)
เป็นโครงเหล็กที่มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันของที่ยกหล่นใส่ผู้ขับ หรือกรณีขับไปชนสิ่งของที่วางไว้ที่สูงจะได้ไม่หล่นมาโดนจนได้รับอันตราย
⇒ คันบังคับ (Control Valve / Spool Valve) – คันบังคับยก/เอียง/กระดก
เพื่อใช้บังคับทิศทางของรถโฟล์คลิฟท์ และจัดวางงาให้ไปตำแหน่งที่ต้องการใช้งานได้อย่างแม่นยำ สำหรับรถที่มีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ เช่น ตัวหนีบหรืองาหมุน จะมีคันบังคับเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถควบคุมอุปกรณ์พิเศษได้อย่างอิสระ
⇒ ปั้มพวงมาลัยผ่อนแรง
ทำให้ขณะปฏิบัติงานใช้แรงน้อยในการบังคับเลี้ยว ลดอาการเมื่อยล้า บาดเจ็บระหว่างปฏิบัติงาน
⇒ เพลา
⇒ เพลาขับเคลื่อน
⇒ แบตเตอรี่
⇒ หัวขั้วต่อแบตเตอรี่
⇒ เครื่องควบคุมไฟฟ้า
⇒ มอเตอร์ขับเคลื่อน
⇒ กระบอกสูบพวงมาลัย
⇒ กระบอกสูบบังคับเอียง/กระดก
เมื่อคุณได้อ่านบทความมาถึงช่วงนี้แล้ว คุณก็สามารถเข้าใจและรู้จักส่วนประกอบของรถโฟล์คลิฟท์ การใช้งาน และการบำรุงรักษาก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย ทำให้รถโฟล์คลิฟท์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณกำลังมองหาหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับสเปรย์อุตสาหกรรม รถโฟล์คลิฟท์ รถลากพาเลทไฟฟ้า Electric Pallet Tuck ทาง บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด มีจำหน่ายพร้อมนำส่งและยินดีให้คำปรึกษา นอกจากนี้เราเป็นผู้จำหน่าย ให้เช่า บริการซ่อมโฟล์คลิฟท์ รถยก Forklift Truck ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ พร้อมรับประกันหลังการซ่อม และจัดหาอะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ นำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศโดยตรง จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง
บริการของ บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด
⇒ รายการอะไหล่แฮนพาเลท (Hand Pallet Truck Parts)
⇒ ปลั๊กแบตเตอรี่ & อุปกรณ์ไฟฟ้า (Battery Plugs Connector & Electrical)
⇒ รายการอะไหล่ (Parts)
⇒ รายการล้อ (Caster Wheels)
⇒ สเปรย์ & จารบี (Spray & Grease)
Reference http://www.toyota-material-handling.co.th
Post on 2020-02-21