085-887-4555
info@naraenterprise.com

บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด > ข่าวสาร > ทำไมเราต้องล็อคเอ้าท์เเท็กเอ้าท์ (LOCKOUT-TAGOUT)

ทำไมเราต้องล็อคเอ้าท์เเท็กเอ้าท์ (LOCKOUT-TAGOUT)

การล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์ Lockout Tagout คืออะไร มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขณะปฏิบัติหน้าที่

การซ่อมบำรุง ซ่อมแซม รถโฟล์คลิฟท์อย่างไร? ให้ปลอดภัย

ล็อคเอ้าท์เเละเเท็กเอ้าท์ (Lockout and Tagout : LOTO) หรือ การตัดแยกพลังงาน

ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในแผนการด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งในขั้นตอนของการขนส่ง ขนย้ายภายในโรงงาน

ในระบบล็อคเอ้าท์ เเท็กเอ้าท์นั้น พนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงจะต้องประสานงานร่วมกับพนักงานฝ่ายผลิตในการป้องกันไม่ให้พลังงานอันตรายในทุกรูปเเบบก่อให้เกิดอันตรายใดๆได้ พลังงานอันตรายนั้นสามารถปรากฎในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น พลังงานไฟฟ้าสามารถทำให้เกิดอันตรายจากกระเเสไฟฟ้าดูด เกิดการไหม้ การทำให้เกิดบรรยากาศที่ไวไฟอาจเกิดการจุดติดไฟขึ้น เเละทำให้อุปกรณ์กลไกต่างๆ ทำงาน หากเป็นไอน้ำสามารถทำให้เกิดการไหม้หรือเป็นตัวเริ่มต้นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาอันตรายต่างๆ ส่วนไนโตรเจนสามารถทำให้สลบได้ เเละการเคลื่อนที่หรือรั่วไหลของสารเคมีสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่สามารถควบคุมได้เเละเกิดการบาดเจ็บ เป็นต้น

ความหมายล็อคเอ้าท์เเละเเท็กเอ้าท์

เป็นการทำให้เกิด Isolation แยกเครื่องจักร อุปกรณ์ออกจากแหล่งจ่ายพลังงาน ป้องกันการเชื่อมต่อพลังงานโดยไม่ได้ตั้งใจ
ล็อคเอ้าท์ Lock out คือ การล็อคพลังงานต่างๆ อาทิ เช่น พลังงานไฟฟ้า สารเคมี เครื่องจักรกล อุณหภูมิ หรือพลังงานในรูปแบบอื่นๆ โดยการใช้อุปกรณ์ที่ออกเเบบมาเฉพาะสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการล็อค ซึ่งนำไปล็อคที่เเหล่งกำเนิดพลังงาน เพื่อให้เเน่ใจว่าพลังงานดังกล่าวถูกควบคุมไว้ เเละจะไม่ถูกปลดปล่อยออกมาระหว่างที่ทำการล็อคเอ้าท์อยู่ เเม่กุญเเจล็อคเอ้าท์จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในการควบคุมหรือล็อคพลังงานโดยมักจะทำงานร่วมกับป้ายเเท็กเอ้าท์ รวมกันเป็น “ระบบล็อคเอ้าท์เเท็กเอ้าท์” หรือ “LOTO”

ระบบลูกกุญเเจ มี 3 ประเภท

  1. Keyed to Differ คือ ลูกกุญเเจเเต่ละดอกจะสามารถเปิดเเม่กุญเเจล็อคเอ้าท์ได้เฉพาะตัวเเม่กุญเเจของตัวมันเองเท่านั้น ไม่สามารถเปิดเเม่กุญเเจตัวอื่นได้
  2. Keyed to Alike คือ ลูกกุญเเจเเต่ละดอกจะสามารถใช้งานร่วมกับเเม่กุญเเจล็อคเอ้าท์ในกลุ่มของตัวเองได้
  3. Master Key + Keyed to Differ คือ มีคุณลักษณะเหมือน Keyed to Differ เเต่จะมีลูกกุญเเจมาสเตอร์คีย์ที่สามารถเปิดเเม่กุญเเจล็อคเอ้าท์ได้ทุกตัว

 

 

 

 

 

 

ป้ายเเท็กเอ้าท์ Tag out คือ มีลักษณะเป็นแผ่นป้ายเเสดงข้อความเตือนอันตรายรวมถึงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการตัดเเยกที่ตัวอุปกรณ์ที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องทำการเเขวนเเท็กเอ้าท์ไว้ที่อุปกรณ์นั้นๆ ที่ถูกกุญเเจล็อคไว้เสมอจนงานเสร็จจึงสามารถปลดป้ายออกได้ โดยระบบล็อคเอ้าท์เเท็กเอ้าท์จะเสร็จสมบูรณ์จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับเเม่กุญเเจล็อคเอ้าท์ ซึ่งจะมีรูปแบบที่เเตกต่างกันออกไปตามเเต่จุดประสงค์ของการเตือนอันตราย เเต่ละโรงงานก็จะมีรูปแบบที่เเตกต่างกัน

ตัวอย่างป้ายเเท็กเอ้าท์

 

 

 

 

 

 

 

ภาพจาก : http://one-clicksafety.blogspot.com/2016/03/tagout.html

บุคคลใดบ้างที่ต้องเรียนรู้ เข้าใจขั้นตอนล็อคเอ้าท์เเละเเท็กเอ้าท์ (Lockout and Tagout : LOTO) หรือการตัดแยกพลังงาน

ส่วนนี้จะช่วยป้องกันความปลอดภัยที่บุคคลส่วนใหญ่มักมองข้าม อาจเกิดความเร่งรีบในการซ่อม ความคุ้นเคย ความหละหลวมเผลอเรอ จึงเกิดเหตุการณ์บ่อยครั้งที่พนักงานซ่อมบำรุง ผู้ใช้ได้รับบาดเจ็บอย่าง โดนเครื่องจักรหนีบ ใบพัดทำงานขณะซ่อม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานอย่างมีแบบแผนเป็นระบบจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตระหนัก ดังนั้น พนักงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร พนักงานที่ดูแลพื้นที่นั้นๆ รวมถึง ช่างซ่อมบำรุงทุกคน จำเป็นต้องผ่านการอบรม เข้าใจขั้นตอนล็อกเอ้าท์ แท็กเอ้าท์ เพื่อปฏิบัติงานได้ถูกต้อง

เเหล่งพลังงานที่กล่าวถึงเป็นอย่างไร

ในที่นี้เเหล่งพลังงานนั้นรวมถึง สารเคมี อุณหภูมิ กระเเสไฟฟ้า เครื่องจักร หรือจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้

ความปลอดภัยในการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์ กฏหมายที่เกี่ยวข้องมีระบุไว้หรือไม่

นอกจากระบบกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท หรือในงานก่อสร้างต้องมีกิจกรรมที่จำเป็นต้องมีการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์เกิดขึ้นก่อนดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง เช่น การซ่อมบำรุงรักษาตรวจเช็คสภาพ (Preventive Maintenance : PM) ตามรอบระยะชั่วโมงการทำงาน การซ่อมแซมต่างๆ (Breakdown : BM) เพื่อเปลี่ยนอะไหล่อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย หรือการทำความสะอาด (Cleaning) ตามรอบการผลิต ฯลฯ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีช่างซ่อมบำรุง หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าทำงานในพื้นที่ที่อาจเกิดอันตราย ขั้นตอนการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์นั้นปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในตัวของพนักงานผู้ปฏิบัติเอง และเป็นตามที่กฎหมายกำหนด ตัวอย่างเช่น

กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 (ข้อ 23 ในระหว่างที่มีการทำงานติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตซ์เชื่อมต่อวงจร หรือจัดให้มีระบบระมัดระวังป้องกันมิให้ผู้ใดสับสวิตซ์เชื่อมต่อวงจรตลอดเวลาที่ทำงานดังกล่าว และติดป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตซ์เชื่อมต่อวงจรด้วย)

กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาขีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 (ข้อ 4 ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดำเนินการดังกล่าว โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และให้แขวนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตซ์ของเครื่องจักรด้วย)

จากฏหมายดังกล่าว มุ่งหวังให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ลดการสูญเสียจากการซ่อมบำรุง หรือจากการปฏิบัติงาน ดังนั้นการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์จึงเป็นสิ่งสำคัญ พนักงาน ช่างซ่อมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องผ่านการอบรม ทำความเข้าใจในการปฏิบัติงาน

มาตรฐาน OSHA กับการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์

ในที่นี้มาตรฐาน OSHA ที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ OSHA 1910.147 The Control of Hazardous Energy (Lockout/ Tagout) ที่ใช้เป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิด Plant Isolation เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นระหว่างการซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งมีการลงรายละเอียดปลีกย่อย ในขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่การล็อคแหล่งจ่ายพลังงาน (Lock-out) การทำให้ระบบปลอดภัยจากพลังงาน (Zero Energy) เช่น การปิดระบบจ่ายลมมาที่ชุด Air Blast แต่ไม่ได้เคลียร์ลมที่ค้างในระบบ ถือว่ามีการ Lockout แต่ไม่ Zero Energy เป็นต้น การแขวนป้าย (Tag-out) การปลดจากล็อค ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติจุดที่จำเป็นต้องมีการล็อค เนื่องจากระบบหรืออุปกรณ์แต่ละชนิด แต่ละที่ย่อมแตกต่างกัน หลักสำคัญคือ “ผู้อื่นต้องเข้าใจโดยง่ายดาย” ทำให้เกิดความซับซ้อนน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ 

ควบคุมเเหล่งพลังงานที่อันตรายเมื่อเกิดขึ้นได้อย่างไร

การมีระบบล็อคเอ้าท์ เเท็กเอ้าท์ที่ดี เเละขั้นตอนปฏิบัติที่มีความปลอดภัยที่จะกล่าวต่อจากนี้ จะช่วยป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้เเละเป็นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้วย

ขั้นตอนการล็อคเอ้าท์ lockout แท็กเอ้าท์ Tagout ปฏิบัติได้ง่าย

 

หมายเหตุ : ในขั้นตอนที่ 2 ปิดเครื่องจักรให้อยู่สภาพ shutdown ที่สมบูรณ์ ไม่มีพลังงาน สารเคมีตกค้าง

ในการทำขั้นตอนปฏิบัติของระบบล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์ ควรทำร่วมกันระหว่างพนักงานปฏิบัติงาน ช่างซ่อมบำรุง และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อระบุและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมร่วมด้วย และจัดทำเป็นแนวปฏิบัติในการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์หรือการตัดแยกพลังงานสำหรับเครื่องจักรนั้นๆ โดยเฉพาะ

หากคุณกำลังมองหาหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับสเปรย์อุตสาหกรรม รถโฟล์คลิฟท์ รถลากพาเลทไฟฟ้า Electric Pallet Tuck ทาง บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด มีจำหน่ายพร้อมนำส่งและยินดีให้คำปรึกษา นอกจากนี้เราเป็นผู้จำหน่าย ให้เช่า บริการซ่อมโฟล์คลิฟท์ รถยก Forklift Truck ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ พร้อมรับประกันหลังการซ่อม และจัดหาอะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ นำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศโดยตรง จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม 

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง

Add Line

ติดต่อเรา facebook เพจ FLOW ⠀ติดต่อเรา facebook เพจ Forklift service and parts

บริการของ บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด

รายการอะไหล่แฮนพาเลท (Hand Pallet Truck Parts)
ปลั๊กแบตเตอรี่ & อุปกรณ์ไฟฟ้า (Battery Plugs Connector & Electrical)
รายการอะไหล่ (Parts)
รายการล้อ (Caster Wheels)
สเปรย์ & จารบี (Spray & Grease)

Reference http://www.ohswa.or.th/
Post on : 2020-02-20

ป้ายกำกับ: , , , , ,
Contact us บริษัท นารา เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด
📌110/59 พฤกษาอเวนิว อาคาร 66/4 หมู่ 4 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ 10540

☎ Tel: 085-887-4555
📲 Hotlines: 085-887-4555
📧 E-mail: info@naraenterprise.com
📟 Line ID: bigmoney.5588